วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559

แผนที่ประเทศไทย

ภาคเหนือ

1.จังหวัดเชียงราย
2.จังหวัดเชียงใหม่
4.จังหวัดพะเยา
3.จังหวัดน่าน
5.จังหวัดแพร่
7.จังหวัดลำปาง
6.จังหวัดแม่ฮ่องสอน 8.จังหวัดลำพูน
9.จังหวัดอุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
1.จังหวัดกาฬสินธุ์
2.จังหวัดขอนแก่น
4.จังหวัดนครพนม
3.จังหวัดชัยภูมิ
6.จังหวัดบึงกาฬ
5.จังหวัดนครราชสีมา
8.จังหวัดมหาสารคาม
7.จังหวัดบุรีรัมย์
9.จังหวัดมุกดาหาร
12.จังหวัดเลย
10.จังหวัดยโสธร 11.จังหวัดร้อยเอ็ด 13.จังหวัดสกลนคร
16.จังหวัดหนองคาย
14.จังหวัดสุรินทร์ 15.จังหวัดศรีสะเกษ 17.จังหวัดหนองบัวลำภู
20.จังหวัดอำนาจเจริญ
18.จังหวัดอุดรธานี
19.จังหวัดอุบลราชธานี
ภาคกลาง
1.จังหวัดกำแพงเพชร
2.จังหวัดชัยนาท
4.จังหวัดนครปฐม
3.จังหวัดนครนายก
6.จังหวัดนนทบุรี
5.จังหวัดนครสวรรค์
8.จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
7.จังหวัดปทุมธานี
9.จังหวัดพิจิตร
11.จังหวัดเพชรบูรณ์
10.จังหวัดพิษณุโลก
12.จังหวัดลพบุรี
15.จังหวัดสมุทรสาคร
13.จังหวัดสมุทรปราการ 14.จังหวัดสมุทรสงคราม
18.จังหวัดสุพรรณบุรี
16.จังหวัดสิงห์บุรี 17.จังหวัดสุโขทัย 
19.จังหวัดสระบุรี
21.จังหวัดอุทัยธานี
20.จังหวัดอ่างทอง
ภาคตะวันออก 
1.จังหวัดจันทบุรี
2.จังหวัดฉะเชิงเทรา
3.จังหวัดชลบุรี
5.จังหวัดปราจีนบุรี
4.จังหวัดตราด 6.จังหวัดระยอง
7.จังหวัดสระแก้ว
ภาคตะวันตก
1.จังหวัดกาญจนบุรี
2.จังหวัดตาก
3.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
4.จังหวัดเพชรบุรี
5.จังหวัดราชบุรี

ภาคใต้
1.จังหวัดกระบี่
2.จังหวัดชุมพร
4.จังหวัดนครศรีธรรมราช
3.จังหวัดตรัง
6.จังหวัดปัตตานี
5.จังหวัดนราธิวาส
9.จังหวัดภูเก็ต
7.จังหวัดพังงา
8.จังหวัดพัทลุง
12.จังหวัดสงขลา
10.จังหวัดระนอง
11.จังหวัดสตูล
14.จังหวัดยะลา
13.จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.sorbdee.net/form_show_allnews.php?idsara=471

10 สุดยอด แหล่งท่องเที่ยวไทย ในดวงใจ

อันดับ 1 ภูกระดึง 
 ความหลากหลายของทิวทัศน์ พรรณไม้ สายน้ำ ทำให้ภูกระดึงครองใจนักเดินทางผู้รักธรรมชาติทุกยุคทุกสมัย
          อุทยานแห่งชาติภูกระดึง จังหวัดเลย คืออุทยานแห่งชาติลำดับ 2 ของประเทศไทย เป็นโรงเรียนแห่งแรกของนักเดินทางผู้นิยมธรรมชาติหลายต่อหลายรุ่น ตำนานเล่าว่า นายพรานคนหนึ่งติดตามล่าสัตว์ขึ้นไปจนพบดินแดนอันงดงามเหมือนสรวงสวรรค์แห่งนี้ บนยอดตัดของภูเขาหินทรายสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 400 - 1,200 เมตร รูปทรงเหมือนกระดึง มีพื้นที่ราบบนยอดเขากว้างใหญ่คล้ายรูปใบบอน เป็นแหล่งต้นน้ำของลำน้ำพอง อากาศค่อนข้างเย็นตลอดปี เปิดฤดูการท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมถึงวันที่ 31 พฤษภาคมของทุกปี และปิดฤดูการท่องเที่ยวตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนถึงวันที่ 30 กันยายน เพื่อให้ป่าได้คืนสภาพ

อันดับ 2 ดอยอินทนนท์

 สุดยอดขุนเขาสูงสุดในสยามนามดอยอินทนนท์ งดงามด้วยพรรณพฤกษาและบรรยากาศเทือกดอยหนาวเย็นดึงดูดใจ
          อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นส่วนหนึ่งของแนวเขตเทือกเขาถนนธงชัย ที่ทอดตัวแนวเหนือ-ใต้ ต่อเนื่องมาจากเทือกเขาหิมาลัยในประเทศเนปาล มีความสูงตั้งแต่ 400-2,565 เมตร จากกระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยมียอดดอยอินทนนท์เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทย

อันดับ 3 ดอยตุง
 ดอยตุง โดยเด่นด้วยหลากสีสันบุปผาชาตินานาพรรณที่สะพรั่งบานทุกฤดูกาลในส่วนแม่ฟ้าหลวง
          ดอยตุงอยู่ในเขตพื้นที่อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ขึ้นไปทางเหนือจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 45 กิโลเมตร แต่เดิมเป็นเทือกเขาป่าเสื่อมโทรม เนื่องจากถูกชาวเขาตัดทำลาย กระทั่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรเห็นและมีพระราชดำรัสว่า"ฉันจะปลูกป่าดอยตุง" จึงได้มีการจัดทำโครงการพัฒนาดอยตุงขึ้นในปี พ.ศ.2530 ปลูกป่ากลับคืนสู่ธรรมชาติ ไม่นานดอยตุงก็คืนสภาพเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์อีกครั้ง และกลับกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่โดดเด่นที่สุดของเชียงราย



อันดับ 4 น้ำตกทีลอซู
  ทีลอซู เลื่องชื่อในสายน้ำมหึมาที่ไหลบ่าลงจากแผ่นผากลางผืนป่ากับนานากิจกรรมท่องเที่ยวผจญภัยที่เติมสีสันให้กับชีวิตผู้มาเยือนน้ำตกทีลอซูเป็นน้ำตกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสวยงามที่สุดของเมืองไทย เกิดจากลำห้วยกล้อท้อทั้งสายไหลตกลงจากหน้าผาสูงชันบนภูเขาหินปูนขนาดใหญ่ สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 900 เมตร ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก อยู่ห่างจากที่ทำการเขตฯ 1.5 กิโลเมตร



 อันดับ 5 ดอยอ่างขาง
 โครงการหลวงดอยอ่างขางพลิกฟื้นผืนป่าเสื่อมโทรมให้กลับมาอุดมสมบูรณ์ทั้งยังเพิ่มพูนความงดงามด้วยไม้ดอกไม้ประดับเมืองหนาว แต้มแต่งสีสันตระการตาให้ขุนเขา



อันดับ 6 หมู่เกาะพีพี
       หมู่เกาะพีพี เทือกเขาหินปูนกลางน้ำสีครามใส หาดทรายงามขาวสะอาดประกอบกันเป็นภูมิทัศน์ตระการตาที่มีเสน่ห์เฉพาะกิจ


อันดับ 7 ภูชี้ฟ้า
ภูชี้ฟ้า โต้ลมหนาวชมบรรยากาศยามอรุณรุ่งบนชะง่อนผาเสียดเมฆเหนือเทือกดอยสูง เป็นความประทับใจที่


อันดับที่ 8 เขาใหญ่
ขาใหญ่ พงไพรมรดกโลก แหล่งต้นน้ำลำธารสารพันสัตว์ป่าน้อยใหญ่ น่าสนใจด้วยเส้นทางเดินป่าและนานากิจกรรมศึกษาธรรมชาติ

อันดับ 9 เกาะช้าง
  เกาะช้าง เกาะใหญ่สมชื่อ เลื่องลือด้วยหาดทรายงามน้ำสวยใสกิจกรรมท่องเที่ยวทางทะเลหลากหลายและความสะดวกสบายที่ครบครัน


อันดับ 10 ปาย
อำเภอปาย เมืองเล็กในโอบกอดขุนเขาสูงใหญ่น่าสนใจด้วยบรรยากาศอันสงบงดงามและรายละเอียดที่ต้องใช้เวลาในการสัมผัส   ปายเป็นอำเภอหนึ่งทางเหนือของจังหวัดแม่ฮ่องสอนที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งขาวไทยและชาวต่างประเทศ ด้วยเสน่ห์ของเมืองน้อยกลางโอบล้อมของขุนเขา ท้องทุ่ง และสายน้ำ ท่ามกลางบรรยากาศเงียบสงบและอากาศเย็นสบาย


จัดอันดับโดยhttp://travel.kapook.com/view5569.html



ชุดประจำชาติไทย


           สำหรับชุดประจำชาติอย่างเป็นทางการของไทย รู้จักกันในนามว่า "ชุดไทยพระราชนิยม" 
โดยชุดประจำชาติสำหรับสุภาพบุรุษจะเรียกว่า "เสื้อพระราชทาน"     
สำหรับสุภาพสตรีจะเป็นชุดไทย


ที่ประกอบด้วยสไบเฉียง ใช้ผ้ายกมีเชิงหรือยกทั้งตัว ซิ่นมีจีบยกข้างหน้า

มีชายพกใช้เข็มขัดไทยคาด 

ส่วนท่อนบนเป็นสไบ จะเย็บให้ติดกับซิ่นเป็นท่อนเดียวกันหรือ จะมีผ้าสไบห่มต่างหากก็ได้ เปิดบ่าข้างหนึ่ง
ชายสไบคลุมไหล่ ทิ้งชายด้านหลังยาวตามที่เห็นสมควรความสวยงามอยู่ที่เนื้อผ้าการเย็บและรูปทรงของผู้ที่สวม ใช้เครื่องประดับได้

ชุดไทยพระราชนิยม แบ่งออกเป็น 8 ประเภท ดังนี้

     1. ชุดไทยเรือนต้น



2. ชุดไทยจิตรลดา




                                                 3. ชุดไทยอมรินทร์


       4. ชุดไทยบรมพิมาน





5. ชุดไทยจักรี
       6. ชุดไทยจักรพรรดิ

   7. ชุดไทยดุสิต

     8. ชุดไทยศิวาลัย

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://picpost.postjung.com/106361.html
เงินเดือน ค่าแรงขั้นต่ำของไทยและอาเซียน





อาหารไทย

อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด
จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดย ซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำอันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1 และบิล เกตส์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน ยังได้เผยถึงความประทับใจที่มีต่ออาหารไทย เนื่องจากอุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ
จุดเด่นของอาหารไทย คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยที่ผูกพันกับสายน้ำเป็นหลัก ทำให้อาหารประจำครัวไทยประกอบด้วยปลาเป็นหลัก ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริก กินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมดก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า อาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น ไทยได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงมาจากบาทหลวงชาวโปรตุเกส ในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มารับประทานมากขึ้น มีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทย



อาหารไทยเป็นการผสมผสานรสชาติความหวาน ความเผ็ด ความเปรี้ยว ความขมและความเค็ม ส่วนประกอบซึ่งมักจะใช้ในการปรุงอาหารไทย รวมไปถึง กระเทียม พริก น้ำมะนาว และน้ำปลา และวัตถุดิบสำคัญของอาหารในประเทศไทย คือ ข้าว โดยมีข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือเป็นพื้น มีคุณลักษณะพิเศษ คือ ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน และให้สรรพคุณทางยาและสมุนไพร ตามสถิติพบว่า ชาวไทยรับประทานข้าวขาวมากกว่า 100 กิโลกรัมต่อคนต่อปีอาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด ส่วนอาหารที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกนั้นคือ ต้มยำกุ้ง เมื่อ พ.ศ. 2554 เว็บไซต์ CNNGO ได้จัดอันดับ 50 เมนูอาหารที่อร่อยที่สุดในโลกโดยการลงคะแนนเสียงทางเฟซบุ๊ก ปรากฏว่า แกงมัสมั่นได้รับเลือกให้เป็นอาหารที่อร่อยที่สุดในโลก
วัฒนธรรมสมัยนิยมได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินของคนไทย โดยหันมาบริโภคอาหารจานด่วนมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดโรคจากภาวะโภชนาการเกิน แต่กลับไม่สามารถขจัดโรคขาดสารอาหารได้
อาหารไทย4ภาค
ภาคกลาง
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดทั้งปี รวมทั้งมีพืชผัก ผลไม้นานาชนิดด้วยเหตุนี้อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย ทำให้รสชาติของอาหารภาคกลางไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ คือมีทั้งรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว และหวานคลุกเคล้าไปตามชนิดต่างๆของอาหาร นอกจากนี้มักมีการใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น เครื่องเทศ และมักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหารอาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียงของแนมร่วมรับประทานด้วย เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน น้ำปลาหวานทานกับสะเดา เป็นต้นจุดเด่นคือ อาหารภาคกลางมักจะมีการประดิษฐ์ สร้างสรรค์อย่างวิจิตรบรรจง ผัก และผลไม้มีการแกะสลักอย่างสวยงาม แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงาม

         ภาคใต้
พื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล ประชากรส่วนใหญ่จึงนิยมทำประมง
ด้วยเหตุนี้อาหารหลักของภาคใต้จึงเป็นอาหารทะเลสด และนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติจะเผ็ดร้อน เค็มและเปรี้ยว เช่น แกงไตปลา แกงส้ม และแกงเหลือง เป็นต้น
อาหารภาคใต้นิยมทานควบคู่กับผักเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งเรียกว่า ผักเหนาะ เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอเป็นต้น


       ภาคเหนือ
เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีขนบธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ
การรับประทานอาหารของทางภาคเหนือจะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่า ขันโตก แทน โต๊ะอาหาร โดยจะนั่งล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน
คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก โดยอาหารของทางภาคเหนือจะเป็นอาหารที่สุกมากๆ และเป็นอาหารประเภทที่ผัดกับน้ำมันเป็นส่วนใหญ่




     ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เป็นดินแดนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้อาหารพื้นเมืองจึงเป็นอาหารพวกแมลงหลายชนิด ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตประชากรในภาคนี้
อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส่วนพืชผัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้มาจากภายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่
อาหารอีสานมักใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารเกือบทุกชนิด แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด และมักรับประทานคู่กับผักสด
ขอบคุณข้อมูลจากhttp://www.thaifoodtoworld.com/home/nativerecipe.php

ในประเทศไทย มีคนอาศัยอยู่ กี่เชื้อชาติ กี่ชนเผ่า อะไรบ้าง และอยู่บริเวณใด


ประเทศไทย หรือชื่อทางการว่า ราชอาณาจักรไทย เป็นรัฐชาติอันตั้งอยู่บนคาบสมุทรอินโดจีน ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนด้านตะวันออกติดประเทศลาวและประเทศกัมพูชา ทิศใต้เป็นแดนต่อแดนประเทศมาเลเซียและอ่าวไทย ทิศตะวันตกติดทะเลอันดามันและประเทศพม่า และทิศเหนือติดประเทศพม่าและประเทศลาว มีแม่น้ำโขงกั้นเป็นบางช่วง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา มีศูนย์กลางการบริหารราชการแผ่นดินอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และการปกครองส่วนภูมิภาค จัดระเบียบเป็น 76 จังหวัด

ประเทศไทยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,115 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลก คือ ประมาณ 66 ล้านคนกับทั้งยังเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ โดยมีรายได้หลักจากภาคอุตสาหกรรมและการบริการ ไทยมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงเป็นอันมาก อาทิพัทยาภูเก็ตกรุงเทพมหานคร และเชียงใหม่ ซึ่งสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ เช่นเดียวกับการส่งออกอันมีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและด้วยจีดีพีของประเทศ ซึ่งมีมูลค่าราว 334,026 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ตามที่ประมาณใน พ.ศ. 2553 เศรษฐกิจของประเทศไทยนับว่ามีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 30 ของโลก
ในอาณาเขตประเทศไทย พบหลักฐานของมนุษย์ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดถึงห้าแสนปี นักประวัติศาสตร์มักถือว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นยุคสมัยแรกของคนไทย ซึ่งต่อมาตกอยู่ในอิทธิพลของอาณาจักรอยุธยา อันมีความยิ่งใหญ่กว่า เนื่องจากมีการติดต่อกับชาติตะวันตก แต่ก็ร่วงโรยลงช่วงหนึ่ง อันเนื่องมาจากการขยายอำนาจของพม่านับแต่ พ.ศ. 2054 ก่อนจะกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้ง ก่อนเสื่อมอำนาจและล่มสลายไปโดยสิ้นเชิง เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาอาณาจักรธนบุรีเหตุการณ์ความวุ่นวายในช่วงปลายอาณาจักร ได้นำไปสู่ยุคสมัยของราชวงศ์จักรีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ในช่วงต้นกรุง ประเทศต้องเผชิญภัยคุกคามจากชาติใกล้เคียง แต่หลังรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา ชาติตะวันตกเริ่มมีอิทธิพลในภูมิภาคเป็นอย่างมาก นำไปสู่การเข้าเป็นภาคีแห่งสนธิสัญญาหลายฉบับ และการเสียดินแดนบางส่วน กระนั้น ไทยก็ยังธำรงตนมิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ๆ ต่อมาจนช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ไทยได้เข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และในปี พ.ศ. 2475 ได้มีการปฏิวัติสยามเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศ และไทยได้เข้ากับฝ่ายอักษะในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง จนช่วงสงครามเย็น ไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับสหรัฐอเมริกา และต้องผ่านสมัยรัฐบาลทหารมานานหลายสิบปี กระทั่งมีการตั้งรัฐบาลพลเรือน และเข้าสู่ยุคโลกเสรีในปัจจุบัน

ดูเพิ่มที่ สยามชื่อเรียก

คำว่า "สยาม" เป็นคำที่ชาวต่างประเทศใช้เรียกอาณาจักรอยุธยา เมื่อราว พ.ศ. 2000 เดิมทีประเทศไทยเองก็เคยใช้ชื่อว่า สยาม มานับตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมา โดยปรากฏใช้เป็นชื่อประเทศชัดเจนใน พ.ศ. 2399 แต่ทว่าคนไทยไม่เคยเรียกตนเองว่า "สยาม" หรือ "ชาวสยาม" อย่างชาวต่างชาติหรือตามชื่อประเทศอย่างเป็นทางการในสมัยนั้นเลยส่วนคำว่า "คนไทย" นั้น จดหมายเหตุลาลูแบร์ได้บันทึกไว้อย่างชัดเจนว่า ชาวอยุธยาได้เรียกตนเองเช่นนั้นมานานแล้ว
ต่อมา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 ตามประกาศรัฐนิยม ฉบับที่ 1 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม (ซึ่งประกาศใช้เมื่อ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2482) ได้เปลี่ยนชื่อประเทศ พร้อมกับเรียกประชาชน และสัญชาติจาก "สยาม" มาเป็น "ไทย"ซึ่งจอมพล ป. มีเจตนาต้องการบ่งบอกว่าดินแดนนี้เป็นของชาวไทย มิใช่ของเชื้อชาติอื่น ตามลัทธิชาตินิยมในเวลานั้นโดยในช่วงต่อมาได้เปลี่ยนกลับเป็นสยามเมื่อปี พ.ศ. 2488แต่ก็ได้เปลี่ยนกลับมาชื่อไทยอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491 ซึ่งเป็นช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี การเปลี่ยนชื่อในครั้งนี้ยังเปลี่ยนจาก "Siam" ในภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส เป็น "Thaïlande" ในภาษาฝรั่งเศส และ "Thailand" ในภาษาอังกฤษอย่างในปัจจุบันอย่างไรก็ตาม ชื่อ สยาม ยังคงเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ
ชื่อของประเทศไทยในภาษาอังกฤษมักจะถูกจำสับสนกับไต้หวันอยู่บ่อย ๆ